Praneat Blog

Ruchira Chanthida
PRANEAT - Client Service - Account Executive
20 Apr 2020

รู้จัก FAC Method ในการทำ Digital Marketing

การทำ Digital Marketing นั้น กลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ในปี 2018 แล้ว เพราะทุก ๆ คนนั้นแทบจะเข้าไปอยู่ใน Digital กันหมดแล้ว แถมเครื่องมือหรือสื่อ Digital ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Social Media หรือ Website ก็ดีต่างก็แย่งความสนใจของผู้บริโภคออกจากสื่อกระแสหลักไปทั้งหมด ทำให้นักการตลาดยุคนี้ต่างต้องมาในสนาม Digital เพื่อหาทางดึงความสนใจของผู้บริโภคเอาไว้

แต่ด้วยความที่โลก Digital นั้นเป็นโลกเสมือนที่ไม่เหมือนโลกจริงที่ยังสามารถเข้าหาผู้บริโภคได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ กันไป ในโลก Digital นั้นการเข้าหาผู้บริโภคนั้นขึ้นกับ Platform ที่ผู้บริโภคอยู่ แถม Supply ของการทำ โฆษณา ที่ขึ้นกับ Platform นั้น ๆ กำหนดมาไว้ ทำให้นักการตลาดเองนั้นต้องคิดหาทางให้ดีว่าจะสามารถสร้างแผนการตลาดที่จะเข้ามาใช้ออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้กลยุทธ์อย่างใดในการดึงผู้บริโภคทั้งหลายให้มาสนใจแบรนด์ขึ้นมา ทั้งนี้นักการตลาดหลาย ๆ คนอาจจะมีวิธีการเลือกใช้ Framework ต่าง ๆ กันไป ไม่ว่าจะเป็น AIDA, SMART หรืออื่น ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมานำเสนออีกวิธีการหนึ่งที่เรียกว่า FAC Method กันค่ะ

FAC Method คืออะไร FAC Method นั้นย่อมาจาก F = Customer Focus, A = Analytics และ C = Content Curration ซึ่งทั้ง 3 ตัวอักษรนั้นมีรายละเอียดต่าง ๆ กันดังนี้

  1. Customer Focus : แท้จริงแล้วทำ Digital Marketing นั้นต้องให้ผู้บริโภคเป็นใหญ่นั้นเอง และแบรนด์ต้องเข้าใจในการใช้ฐานของผู้บริโภคเองให้เป็นประโยชน์โดยการให้สร้างกระแสหรือโปรโมทแบรนด์ของคุณออกไป

สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจในเรื่องผู้บริโภคคือ ทำไมผู้บริโภคถึงมาอยู่ใน Platform นี้กัน และอยากเห็นอะไรที่ทำให้ต้องปฏิสัมพันธ์ออกมา ทั้งนี้เรื่องที่เป็นพื้นฐานที่ผู้บริโภคมาใช้ Social Media ต่าง ๆ คือมี Content ที่ตอบสนองต่ออารมณ์ของตัวเองเข้าไป ไม่ว่าจะตลก สุข เศร้า หรือโกรธ ดังนั้นการที่คุณเข้าใจอารมณ์และสามารถสร้างเนื้อหาที่ตอบสนองอารมณ์เหล่านั้นได้ของกลุ่มเป้าหมาย ย่อมทำให้การตลาดบน digital ของคุณนั้นติดปีกมากยิ่งขึ้น

  1. Analytics : การเข้าไปฝึกฝนการแปลความข้อมูลต่าง ๆ จากหน้า Analytics ของ Platform ต่าง ๆ มีความสำคัญ เพื่อที่จะจับการเปลี่ยนแปลง ความชอบต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายออกมาเป็นการ Execution ได้ ตัวอย่างง่าย ๆ คือ ถ้าใครใช้ Facebook Analytics ดูจะพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ใน Facebook เข้า Facebook ผ่านมือถือแล้ว ใช้อุปกรณ์มือถือ OS อะไร ชอบดูเพจอะไร หรือเพจตาม Catagory ต่าง ๆ ที่ผู้บริโภคชอบข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายขึ้นมาได้ด้วยว่าจะทำ Content อย่างไรดี รวมทั้งการเข้าไปดูหลังบ้านตัวเองเพื่อวิเคราะห์ออกมาว่า ผู้บริโภคชอบมาปฏิสัมพันธ์เวลาไหน ภาพหรือเนื้อหาแบบไหนที่ผู้บริโภคนั้นชอบอ่านขึ้นมา

  2. Content Curation : การทำ Content นั้นเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Content Marketing เลย และแบรนด์ที่ดีต้องสามารถบริหารและดูแลการทำ Content ของตัวเองให้ได้ดีด้วย ซึ่งหมายความว่าแบรนด์นอกจากการหา Content มาป้อน social media หรือเว็บไซต์ของตัวเองแล้ว ก็ต้องสามารถสร้าง Content ของตัวเองที่เป็นองค์ความรู้ของตัวเองขึ้นมาได้ด้วยเพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า เนื้อหาแบบนี้จะสามารถหาได้ที่นี้ที่เดียวเท่านั้น ทั้งนี้การทำ Content curation ที่ดีไม่ใช่แค่การดูแลและเผยแพร่เนื้อหาเท่านั้น แต่เป็นการวางกลยุทธ์ช่องทางต่าง ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการวางว่า ช่องทางไหนจะได้เนื้อหาไหนออกไป จะต้องมีงานแต่ละชิ้นออกไปเมื่อไหร่ หรือเวลาไหนที่ควรจะมี Content ขึ้นไป หรือจะสร้างเนื้อหาแบบไหนเพื่อดึงดูดคนให้มาอ่าน ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็น Original Content เสมอไปก็ได้ แต่เป็นบทความหรือ content ที่ให้ Value กับผู้อ่านขึ้นมานั้นเอง