Praneat Blog

Ruchira Chanthida
PRANEAT - Client Service - Account Executive
20 Apr 2020
digital-marketing-trends-2018.jpg

คาดการณ์ Digital Marketing Trends ปี 2018

จากการอ่านหลายๆบทความทั้งไทยและเทศ บวกกับข้อมูลจาก panel และสัมนาต่างๆ จึงขอคาดการณ์ digital marketing trend ปี 2018 ไว้ตามนี้นะคะ

  1. Content จะคุณภาพดีขึ้นและไม่ฟรีแล้ว ปัจจุบันกลุ่มคนดูเดียวกันจะเห็น Content ที่ใกล้เคียงกันหลายแบรนด์ ดังนั้นในปีหน้าเหล่าแบรนด์ต่างๆ จะต้องทำ content ให้มีคุณภาพมากขึ้นเพื่อให้แตกต่างจากคู่แข่ง แต่จะมาพร้อมข้อแลกเปลี่ยน เมื่อแบรนด์ผลิต Content คุณภาพดีออกมาแล้ว ก็ต้องการยอดขายหรือ data บางอย่างกลับมาด้วย เช่น หลังจากนี้เราจะอ่านบทความอะไรก็แล้วแต่อาจจะต้องใส่ข้อมูล E-mail เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน(publisher หลายๆที่ทำกันแล้ว ยกเว้นเป็น content ที่มีลูกค้าจ้างผลิตอีกที) หรือการถูกทำ re-marketing จากวิดีโอที่ดูก็ถือว่ามีการแลกเปลี่ยนอะไรบางอย่างกับการดู content)

  2. อวสาน (จริง) CR หน้าม้าบน pantip ในปีที่ผ่านมามีสองถึงสามกระทู้ดังๆที่ออกมาประกาศว่าตนนั้นคือ CR (consumer review) แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายให้กับนักสืบ pantip ที่ดันจับได้ว่าไม่ใช่ CR จริงๆ แต่เป็นคนที่รับงานและเจ้าของแบรนด์มาเขียนรีวิวและแสดงความคิดเห็น การที่แบรนด์จะทำ CR ปลอมแล้วโดนจับได้อาจจะไม่คุ้มค่ากับแบรนด์เท่าที่ควร ถ้าแบรนด์เน้นจะจ้างใครทำรีวิวน่าจะระบุไปเลยว่าเป็น SR (sponsor review) มากกว่ามาโดนนักสืบ pantip จับได้จะดีกว่า

  3. การกลับมาของเว็บไซต์ เมื่อต้องแข่งขันกันผลิต content คุณภาพดีออกมาแล้ว ต่อไป content จะไม่แค่ถูกโพสต์บน feed แล้วถูกปล่อยผ่านไป ในปีหน้าหลายๆ แบรนด์จะต้องพยายามเก็บ content ดีๆ ไว้บนเว็บไซต์ พร้อมหาวิธีเพิ่มยอดขายหรือเก็บ data จากคนที่มาดู หลายๆที่น่าจะ revamp เว็บไซต์ใหม่กันสนุกสนานเลยทีเดียว

  1. Ads คือ Ads เน้น Reach & Frequency ไม่ใช่ content พยายามเนียนขายของ ข้อมูลใดที่ควรเป็นโฆษณาชัดๆก็จะขายของตรงๆไปเลยและตั้ง media objective เป็น reach and frequency แทน (ถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากหลายๆครั้ง) ไม่พยายามมาเนียนขายของใน content และ ตัวไหนเป็น ads ก็เป็น ads ตรงๆไปเลย ปีที่ผ่านมาก็มีหลายๆ brand ทำ ads สวยและน่าสนใจเยอะขึ้นเหมือนกัน mindset เดิมๆที่ว่าทำ content ให้คนอยากอ่านเพื่อหวัง engagement และเนียนขายของคงจะไม่เป็นที่นิยมในปี 2018 ต่อไปอีกแล้ว

  2. ราคา Facebook ads จะถีบตัวสูงขึ้น (ไปอีก) ต่อไปนี้การทำการตลาดบน Facebook จะไม่ใช่การทำ marketing งบน้อยๆแล้ว จากสถิติราคา Facebook Ads ที่ทาง TWF ดูแลให้ลูกค้าในปีที่ผ่านมาพบว่าในงบเท่าเดิมแต่ได้ผลลัพธ์น้อยลงกว่าเดิมเรื่อยๆ ถึงแม้ตอนนี้จะไม่ต่างมากแต่ปีหน้าคงจะมีแนวโน้มที่ราคาของ Facebook ads เพิ่มขึ้นไปอีก ซึ่งหลักๆน่าจะเป็นเพราะจำนวนคนลงโฆษณาและ content เพิ่มมากขึ้นตลอดแต่กลุ่มเป้าหมายยังเท่าๆเดิม ทำให้ต้องเกิดการแย่งพื้นที่และเวลาในการแสดงโฆษณาในแต่ละครั้ง
  3. หมดยุค Brand app คนอเมริกันนิยม download app ใหม่ๆแล้ว และจำนวนเวลาที่ใช้ app ของพวกเขาก็ไม่ได้ลดลงแต่เป็นโจทย์สำหรับแบรนด์ที่จะดึงดูดคนพวกนี้ ให้ download app ใหม่ๆลงเครื่องเพิ่มโดยเฉพาะถ้าเป็น app ที่ถูกทำมาเพื่อตอบโจทย์การตลาดเพียงอย่างเดียวคงจะไม่มีวันได้เกิดในปี 2018 แน่นอน

  1. ทิศทางของ AR และ VR สำหรับ AR (Augmented Reality) เมื่อถูกผลิตนำมาใช้กับการตลาดตรงๆแล้วอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เกิดกระแสได้ ตัวอย่าง iButterfly คือ AR ที่คนทั่วไปสามารถไล่จับผีเสื้อเพื่อลุ้นรับส่วนลดและโปรโมชั่นต่างๆได้ ไอเดียดีแต่อาจจะยากเกินไปสำหรับการใช้งานจริงสำหรับผู้บริโภค ในขณะที่ Pokémon GO คนเล่นเพราะความสนุกของตัวเกมส์เองแล้วห้างร้านต่างๆจึงตามกระแสปล่อย lure modules ให้ลูกค้ามานั่งจับ Pokémon กัน ส่วน VR (Virtual Reality) นั้น ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไป เราน่าจะได้เห็นภาคอสังหาริมทรัพย์นำ VR มาใช้ประโยช์นได้เต็มๆ ด้วยค่าใช้จ่ายในการ setup ที่ราคาต่ำลงและลูกค้าเริ่มเข้าใจและเข้าถึงเทคโนโลยีนี้มากยิ่งขึ้นจากแต่ก่อน ดังนั้นอีกไม่นานเราน่าจะได้เห็น developer หรือสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ผู้บริโภคหลายๆเจ้านำ VR ไปใช้ในการตลาดได้อย่างน่าสนใจ

  2. ยุครุ่งเรืองของ Micro-Influencers ในปี 2018 น่าจะได้เห็น micro-influencers หรือ บุคคลที่มี follower หลักพันถึงหลักหมื่นและเป็นกลุ่มเฉพาะยิ่งขึ้น มากกว่า mass influencer ที่ follower อาจจะกว้างเกินไปสำหรับกลุ่มเป้าหมาย แตกต่างกับ micro-influencers ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่า

  3. Brand Safety และความโปร่งใสจะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักสำหรับการเลือกลงโฆษณาบนสื่อ digital ปัญหาหลักของ programmatic ads buy และ ads network คือ เรื่องความเหมาะสมของเนื้อหาในที่ที่ ads จะไปแสดง (brand safety) เช่น ads เราไปโผล่ใน YouTube video หรือบทความในเว็บไซต์เกี่ยวกับการเหยียดผิวหรือความรุนแรงการก่อการร้าย ซึ่งตัวระบบพยายามจะแสดง ads ให้ถึงกลุ่มคนดูตาม demography (เพศ อายุ ที่อยู่ etc.) และ interest ที่ตั้งไว้ แต่ระบบไม่สามารถกรองเนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพพอ เจ้าใหญ่ๆอย่าง P&G, Uniliver เริ่มกดดัน platform หลักอย่าง Google และ Facebook รวมถึง agency ต่างๆ เพื่อให้การลงโฆษณา digital ได้ผลจริงและคุ้มค่ากับงบมหาศาลที่แบรนด์ได้ลงทุนไป