การทำการตลาดในประเทศไทยหลาย ๆ ครั้งนั้นใช้กลักการในการเก็บข้อมูล หรือสนใจในการสร้าง concept ต่าง ๆ รวมทั้งใช้ตัวอย่างงานทีเคยทำแล้วประสบความสำเร็จมา แต่จริง ๆ แล้วงานการตลาดนี้ถ้าใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาจะช่วยทำให้ผลที่เกิดขึ้นนั้นมีโอกาสสูงที่จะได้ผลที่ดีมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะศาสตรืทางด้านจิตวิทยา
หนึ่งในศาสตร์ทางจิตวิทยาที่นักการตลาดและผู้บริโภคเห็นได้ในทั่วไปในยุคนี้ เรียกว่า Social Proof หรือการพิสูจน์แล้วโดยสังคม ซึ่งหลักการ Social Proof ว่าด้วยเรื่องที่ผู้บริโภคนั้นจะเชื่อหรือทำตามการแนะนำของคนอื่นหรือสังคมที่ตัวเองนั้นอยู่ เพราะคิดว่าเค้ารู้ดีกว่า หรือมีความเข้าใจมากกว่า โดยนักการตลาดนั้นสามารถพบการใช้ Social Proof ได้อย่างมากมาย ทั้งแบบใช้เองโดยไม่รู้ตัว หรืออยู่ในงานคนอื่น ซึ่ง Social Proof นี้สามารถใช้ได้ทั้งในออนไลน์และออฟไลน์ด้วยกัน ซึ่งวันนี้เราจะมารู้จัก Social Proof 6 แบบและตัวอย่างการใช้งาน Social Proof ในการตลาดกัน
เชื่อในผู้เชี่ยวชาญ : คือการที่ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้น ๆ ที่ออกมาให้คำแนะนำสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องในศาสตร์ของผู้เชี่ยวชาญนั้นเช่น นักกีฬามาแนะนำอุปกรณ์กีฬา
เชื่อใน celeb : คือการที่เชื่อดารา คนดัง แนะนำสินค้าและบริการ เพราะเชื่อว่าใช้แล้วจะได้เหมือนดารา คนดัง
เชื่อใน ผู้ใช้ : คือการที่เชื่อผู้ใช้ได้ลองใช้แล้วจริง ๆ และเชื่อคำแนะนำของผู้ใช้ที่ใช้สินค้านั้นมาก่อนหน้า เช่นตัวอย่างการรีวิวสินค้า หรือการทำ testimonials
เชื่อใน สังคมบอกต่อ : คือการที่กลุ่มสังคมใหญ่ ๆ ในระดับร้อยคน พันคนขึ้นไป ทำให้เชื่อว่าการใช้สินค้าและบริการ หรือการบอกต่อที่เหมือน ๆ กันนี้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
เชื่อใน เพื่อนบอกต่อ : คือการที่เห็นเพื่อนนั้นใช้สินค้าแล้วดี หรือการที่เพื่อนมาแนะนำสินค้า ทำให้เกิดความเชื่อด้วยว่าสินค้านั้นจะดีอย่างมากจนใช้ตาม
นักการตลาดสามารถเลือกใช้รูปแบบของ Social Proof ได้หลากหลายหรือจะผสมกันในหลากหลายรูปแบบเพื่อสร้างความเชื่อทางจิตวิทยาขึ้นมาก็ได้ โดยสามารถใช้วิธีได้หลากหลายดังนนี้ในการตลาดผ่าน Social Media ในยุคนี้
ให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาดูแล Social Media คือการให้ผู้เชี่ยวชาญที่สังคมให้ความเชื่อถือนั้นเข้ามาดูแล social media ต่าง ๆ ในระยะเวลาหนึ่ง พร้อมให้ผู้เชี่ยวชาญนั้นสามารถโฑสเนื้อหาต่าง ๆ ออกไปได้ ทำให้คนที่ติดตามแบรนด์และติดตามผู้เชี่ยวชาญนี้รู้สึกว่าแบรนด์กำลังเป็นผู้เชี่ยวชาญนี้และได้ความน่าเชื่อถือจากผู้เชี่ยวชาญมาด้วย
การบอก Milestones คือการที่ใช้ Social Proof ในระดับสังคมในการเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าแบรนด์คุณได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ใช้ หรือมีกลุ่มผู้ใช้มากขึ้นแค่ไหนแล้ว เช่นการประกาศตัวเลขผู้ใช้ต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งเมื่อประกาศแบบนี้ทำให้คนที่ไม่เคยใช้งานเริ่มมีความสนใจว่า ทำไมหลาย ๆ คนนั้นใช้บริการและสินค้าเหล่านี้จนอาจจะนำมาสู่ลูกค้าใหม่ ๆ ที่อยากลองตามสังคมได้
4.รวมเนื้อหาที่ User สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับคุณ วิธีนี้ได้ผลอย่างมากใน Instagram เมื่อมีคนโพสถึงคุณใน Instagram สิ่งที่คุณควรทำคือการ Report เนื้อหานั้นบน Account ของคุณเอง โดยการขอจากผู้ที่โพสให้เรียบร้อย ข้อดีคือทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าแบรนด์เห็นตัวตนของผู้ใช้ และเชื่อมต่อกับแบรนด์ แถมแบรนด์ยังได้กระตุ้นให้ผู้ใช้โพส Content พร้อมใช้ Hashtag เพิ่มขึ้นด้วย
ทั้งนี้ที่นำเสนอไปคือตัวอย่างง่าย ๆ และไอเดียตัวอย่างในการใช้ Social Proof ในงาน Social Media Marekting นักการตลาดยังสามารถใช้วิะีอื่นได้มากมาย เช่นการใช้การรับรอง การใช้ Influencer หรือ micro influencer จนถึงการใช้ Look a-like ads ในการสร้างความน่าเชื่อถือขึ้นมาได้ จนผู้ใช้อยากใช้งานตามกัน