หลาย ๆ ครั้งนักการตลาดที่ทำสินค้าและบริการคิดว่าเข้าใจกลุ่มลูกค้าตัวเองว่าต้องการอะไร แต่อย่าลืมว่าสิ่งที่ตัวเองคิดนั้นเกิดจากการที่ตัวเองรู้จักสินค้าและบริการของแบรนด์ตัวเองเป็นอย่างดี แต่กลุ่มเป้าหมายนั้นไม่ได้รู้จักแบรนด์ของนักการตลาดเลย
มีกลุ่มเป้าหมายจำนวนน้อยมาก ๆ ที่จะเข้าใจได้ทันทีหรือชอบทันทีได้อย่างที่เราเข้าใจ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายประเภทนี้ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายกลุ่มกว้างอย่างที่เราต้องการในการตลาดแน่นอน
ดังนั้นวันนี้เราจะมารู้จัก 3 สัญญาณที่บ่งชี้ว่าการตลาดนั้นของเราอาจจะไม่สำเร็จ เพราะเชื่อมกลุ่มเป้าหมายนั้นไม่ติดกันเลยค่ะ
- ลืมกลุ่มคนที่อยู่ในการตลาดแบบดั้งเดิม : เกิดขึ้นเป็นประจำสำหรับนักการตลาดที่เชื่อในเรื่อง Digital Marketing อย่างมาก และคิดว่า Digital นั้นจะสามารถแก้ปัญหาการตลาดได้ทุก ๆ อย่าง ๆ แต่หลาย ๆ ครั้งคุณก็หลงลืมไปว่า กลุ่มคนบางกลุ่มนั้นไม่ได้ใช้ชีวิตใน Digital เป็นหลัก หรือมีการใช้ Digital ที่จำกัดอย่างมาก ตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่อยู่ต่างจังหวัดที่มีการเข้าถึงอินเทอร์เนตอย่างจำกัด หรือกลุ่มคนที่อยู่ในโรงงานที่ถูกปิดกั้นการใช้งานในการใช้อินเทอร์เนตในแต่ละวัน หรือกลุ่มประเภทผู้บริหารที่แทบไม่ได้ใช้อินเทอร์เนตเลยและชีวิตประจำวันถูกจัดการโดยเลขาต่าง ๆ นี้ยังไม่รวมกับกลุ่มผู้สูงอายุหลาย ๆ คนที่ยังไม่เข้าถึงเครื่องมือบางอย่าง
Trick : เราจะต้องเริ่มคิดถึงในภาพกว้างและอย่ายึดติดกับเครื่องมือในการใช้งานเพื่อที่จะสามารถเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายทั้งหลายได้ขึ้นมา หลาย ๆ ครั้งอาจจะต้องผสมผสานเครื่องมือระหว่าง Traditional และ Digital ขึ้นมาบ้าง เพื่อให้สามารถจับกลุ่มเป้าหมายวงกว้างทั้งหมดได้
- ให้ตัวเลือกที่มากเกินไป : การให้ข้อมูลเยอะ ๆ เพื่อการตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งที่ดี และมีเหตุผลในการที่จะตัดสินใจในการซื้อสินค้า เพื่อให้ได้สิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุดขึ้นมา ดังนั้นเมื่อเราวางแผนแคมเปญต่าง ๆ ที่จะรวบผู้บริโภคเอาไว้ให้ได้มากที่สุด จะทำให้เกิดการสร้างเครื่องมือที่มีความสลับซับซ้อน หรือต้องกดหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการออกมา แทนที่จะสามารถซื้อหรือทำการติดต่อเพื่อให้ได้สินค้าและบริการนั้นขึ้นมาเลย รวมทั้งการสร้างหน้าสินค้าและบริการเปรียบเทียบที่สร้างการเปรียบเทียบกับสินค้าอื่น ๆ ที่มีมากเกินไป ทำให้ผู้บริโภคเลือกไม่ถูกจนถึงขั้นอาจจะไม่เลือกเลยก็มี
Trick : ควรสร้างจำนวนตัวเลือกที่เหมาะสมออกมา เพื่อให้เกิดการตัดสินใจที่ง่ายที่สุดกับผู้บริโภค หรือสร้างเครื่องมือในการแนะนำสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคขึ้นมาแทนที่จะให้ผู้บริโภคนั้นไปค้นหาเอาเองในเว็บไซต์
- ใช้คนละภาษากับกลุ่มเป้าหมาย : เช่น เราจะจับกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ใน Generation ที่เป็น Gen Z หรือ Gen Y โดยส่วนใหญ่ แต่เรากลับเป็นคน Gen X หรือเลวร้ายกว่านั้นเป็น Gen แบบ Baby Boomer ทำให้การคิดหรือการสร้างการสื่อสารทางการตลาดกลับใช้มุมมองของตัวเองในการที่คิดว่า กลุ่ม Gen Z หรือ Gen Y จะชอบการสื่อสารแบบนี้ หรือบางทีก็จะมีความเข้มงวดในการใช้ภาษา ทำให้การสื่อสารที่จะจับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนั้นกลับกลายว่าจับไม่ได้เลย เพราะสื่อสารกันคนละรูปแบบ ยิ่งมีการเข้มงวดในการใช้ภาษา ทำให้ภาพที่เกิดขึ้นนั้นกลับกลายว่าเหมือนแบรนด์ที่ดูแข็ง ๆ ไม่เป็นมิตรมาคุยเสียอีก
Trick : ต้องเริ่มคิดว่าจะสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายอย่างไร ด้วยภาษาและท่าทีที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายต้องการที่สุด แล้วจะลดภาพลักษณ์ที่ตัวเองมีลงมาถึงกลุ่มเป้าหมายที่ตัวเองต้องการอย่างไรขึ้นมา โดยที่ภาพลักษณ์หลักของแบรนด์นั้นยังคงอยู่