Praneat Blog

Ampol Ampaimol
PRANEAT - Design - Designer
20 Apr 2020
owb6k8adqlKgFGncPwG-o.jpg

[แนะนำหนังสือ] Sprint กระบวนการทดลองไอเดียใหม่ๆ ใน 5 วันของ Google


วันนี้มีหนังสือมาแนะนำครับ เกี่ยวกับเรื่องราวกระบวนการของทีมงาน Google ได้พัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหา ทดสอบไอเดียๆใหม่ ภายใน 5 วัน คือให้ได้ผลจริงๆ ในภายหลังได้นำหลักการนี้ มาใช้กับบริษัทและองค์กร startup ที่ google ventures ร่วมลงทุนด้วย ช่วยให้ startup ได้ทดลอง ไอเดียที่มีกับลูกค้าหรือผู้ใช้จริงๆ(อาจจะเป็นคนในองค์กรก็ได้) ก่อนจะต้องลงทุนหรือเริ่มดำเนินการจริงๆ

ความน่าทึ่งของ Sprint คือเป็นรูปแบบกระบวนการที่ทดสอบมาแล้วว่าใช้ได้ดีกับบริษัทและองค์กรขนาดเล็กใหญ่ ทั้งในภาคธุรกิจและองค์กรภาคสังคมโดยใช้เวลาเพียง 5 วัน ต้องเคลียร์คิวให้ว่างตลอดสัปดาห์ ปิดอีเมล ปิดมือถือ) การตั้งทีมงานไม่ควรเกิน 7 คน (จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาในบ่ายวันจันทร์ เพื่อทำการซักถาม รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์) โดยกระบวนการเป็นการผสมผสานระหว่าง Design Thinking และ Lean Startup ใช้เวลา 5 วัน ทำ 5 อย่าง ไม่ว่าจะเป็น ตั้งโจทย์ คิดไอเดีย เลือกไอเดีย สร้างต้นแบบ นำไปทดลองจริงกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย

ต่อไปนี้จะไปบทความบางท่อนในหนังสือครับ



การทำงานในแต่ละวัน

Mon >> คุณต้องระบุปัญหาและเลือกจุดที่ต้องการจะให้ความสำคัญ
Tue >> ต้องวาดแนวทางแก้ปัญหามาประชันกันบนแผ่นกระดาษ
Wed >> ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ และเปลี่ยนไอเดียให้กลายเป็นสมมติฐานที่จะนำไปทดสอบได้
Thur >> ต้องสร้างให้ได้ชิ้นงานต้นแบบที่ใช้งานได้จริง
Fri >> คุณต้องนำต้นแบบดังกล่าวไปทดสอบกับมนุษย์จริง (ทดสอบกับลูกค้าเป้าหมาย)

เรื่องที่ท้าทายให้เกิดการเรียนรู้อะไรบางอย่าง หากไอเดียประสบความสำเร็จก็ดีไป แต่ถ้าล้มไม่เป็นท่า ก็ยังถือว่าได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า มีประสิทธิภาพต่อการลงทุน เพราะหากพบข้อผิดพลาดร้ายแรง เราแค่เรียนรู้จากการล้มเหลว ไม่ได้ล้มเหลวจริงๆ



การเตรียมความพร้อมก่อนทำ Sprint


1.เรื่องที่ท้าทาย
ยิ่งท้าทายยิ่งทำ sprint ยิ่งดีขึ้น รายการต่อไปนี้คือสถานการณ์อันท้าทายที่ sprint น่าจะช่วยได้

  • ความเสี่ยงสูง ถ้ากำลังทำงานขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยทั้งเงินและเวลา sprint คือโอกาสในการตรสจสอบแผนที่นำทาง
  • เวลาไม่พอหรอ sprint ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
  • แค่ติดขัดเรื่องทั่วๆไป sprint ทำหน้าที่เป็นจรวดเพิ่มแรงส่ง สร้างแนวทางที่แปลกใหม่ในการแก้ปัญหาได้

2.ทีมงาน
ควรสรรหาทีมงานให้ได้ 7 คนหรือน้อยกว่า ดังนี้

  • ผู้ตัดสินใจ ควรเลือกมาเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างรวดเร็ว และไม่มีปัญหาในภายหลัง เช่น จู่ๆคนระดับสูงเห็นว่าโครงการประสบความสำเร็จแต่เค้ามองว่าแก้ไขปัญหาไม่ถูกจุด(เพราะไม่ได้เข้าร่วม sprint) ก็เลยล้มโครงการทันที
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน อธิบายได้ว่าเงินมาจากไหนและออกไปไหน
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ผู้สร้างสรรค์ข้อความสื่อสารของบริษัท
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านลูกค้า พวกเค้ารู้ดีเกี่ยวกับตัวลูกค้า พูดคุยกับลูกค้าเป็นการส่วนตัวเสมอๆ
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีหรือการขนส่ง พวกเค้ารู้ว่าบริษัทผลิตอะไรและส่งมอบอะไรบ้าง
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ใครจะเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัท
  • ผู้ดูแลและดำเนินการทำ sprint เค้าจะต้องไม่ใช่ผู้ตัดสินใจ และจะต้องมีความเป็นกลางที่สุด

3.เวลาและสถานที่
เวลาสำคัญมาก ผู้ดูแลจะต้องควบคุมเวลาเป็นอย่างดีเพื่อให้การทำ sprint ได้ผล รวมถึงสถานที่เช่นกัน

  • กันเวลาไว้ 5 วันเต็มบนปฏิทิน จันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-17.00 น ยกเว้นวันศุกร์ เริ่ม 9.00 น เบรกเช้าตอน 11.30 ช่วงสั้นๆ พักเที่ยงตอน 13.00 1 ชม. และเบรกบ่ายตอน 15.30 ช่วงสั้นๆ
  • ตลอดการทำ sprint ห้ามใช้อุปกรณ์คอม อิเล็คทรอนิกส์ เครื่องมือสื่อสารใดๆทั้งสิ้น เพื่อให้งานดำเนินไปได้ 100% โดยไม่มีการขัดจังหวะ
  • เลือกใช้ไวท์บอร์ดขนาดใหญ่ 2 อันหนือ 2 ด้าน รวมถึงอุปกรณ์พวกโพสอิท เทปกาวต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือ Time timer
  • สถานที่ ควรเป็นห้องประชุมหรือสร้างห้องเฉพาะกิจขึ้นมาใช้ห้องๆเดียว ที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวได้อย่างคล่องแคล่วสามารถแปะกระดาษโพสอิทได้ทั่วห้อง ตลอดทั้งวัน

หากใครสนใจอ่านต่อ สามารถหาซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือหรือที่งานหนังสือแห่งชาติ ได้ที่บูทเนชั่นครับ

ที่มา

  • http://www.somkiat.cc/sprint-book/
  • http://www.scaling-impact.com/sprint/
  • จากการอ่านหนังหนังสือบทแนะนำ และเตรียมความพร้อมของหนังสือ Sprint กระบวนการทดลองไอเดียใหม่ๆ ใน 5 วันของ Google